วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

หลักการเขียนตัวอักษรภาษาจีน

หลักการเขียนตัวอักษรจีน
การที่จะเขียนตัวอักษรภาษาจีนให้ถูกต้องและสวยงามนั้นจำเป็นจะต้องรู้หลักการดั้งนี้

1.ขีดบนก่อนขีดล่าง
2.ขีดซ้ายไปขวา
3.ขีดซ้าย - ขวา แล้วจึงขีดล่าง
4.ขีดขวางเริ่มจากบนลงล่าง
5.ขีดเส้นกลางก่อน แล้วจึงขีดซ้ายไปขวา
6.ขีดเส้นแนวขวางแล้วจึงขีดเส้นแนวตั้ง
7.ขีดเส้นที่ลากจากขวามาซ้ายก่อนแล้วจึงขีดเส้นที่ลากจากซ้ายไปขวา
8.ขีดเส้นเล็กที่เป็นเส้นรองเป็นลำดับสุดท้าย
ตัวอย่าง

shén
--------------------------------------------------



ไวยากรณ์
พินอิน หรือ ฮั่นหยู่พินอิน (จีนตัวเต็ม: 漢語拼音; จีนตัวย่อ: 汉语拼音; พินอิน: Hànyǔ Pīnyīn แปลว่า การถอดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถ่ายถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรโรมัน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน"

เสียงวรรณยุกต์

เสียงที่ 1
เสียงที่ 2
เสียงที่ 3
เสียงที่ 4
ˉ
/
ˇ
\
เสียงพยัญชนะทั้ง  21  เสียง

bปัว
pพัว
mมัว
ฟัว 
dเตอ
tเทอ
nเนอ
lเลอ
gเกอ
kเคอ
hเฮอ

jจี
qชี
xซี

zจือ
cชือ
sซือ

zhจรือ
chชรือ
shซรือ
rรยือ
y
w




เสียงสระในภาษาจีน มีทั้งหมด  36  ตัว
a
o
e
i
u
ü
ai
ei
ao
ou
an
en
ang
eng
ong
ia
ie
in
iao
iu
ian
iang
ing
iong
ua
uo
uai
ui
uan
un
uang
ueng

üe
üan
ün
er

สัญญาณมือ เลข 1-10

ในชีวิตประจำวัน บ่อยครั้งที่เราใช้สัญญาณมือในการสื่อสารกับผู้อื่น สำหรับในประเทศจีน คนทั่วไปจะใช้สัญญาณมือที่สังคมได้กำหนดขึ้นใช้ร่วมกันมาแสดงจำนวนตัวเลข

คำศัพท์(生词)เรื่องร่างกาย
                                                           1.               tóu(โถว)                                                        ศรีษะ
                        2.   眉毛       meimao(เหมยเมา)                       คิ้ว
                        3.   面颊       mìanjiá (เมี่ยนเจี๋ย)                                     แก้ม
                        4.   下巴       xiàba (เซี่ยปา)                                               คาง
                        5.   手掌       shǒuzhāng(โสวจ่าง)                                 ฝ่ามือ
                        6.               yāo(เยา)                                                        เอว
                        7.               tuǐ (ถุ่ย)                                                           ขา
                        8.   大腿       dàtuǐ (ต้าถุ่ย)                                                    ขาอ่อน
                        9.   耳朵       ěr duō (เอ่อร์ตัว)                                             หู
                      10.   嘴唇       zuǐchún(จุ่ยฉุน)                                             ริมฝีปาก
                      11.   肚子       dùzi(ตู้จึ)                                                             ท้อง
                      12.              shǒu(โส่ว)                                                          มือ
                      13.              zhǒu(โจ่ว)                                                         ข้อศอก
                      14.   小腿       xiao tui(เสียวถุ่ย)                                             น่อง
                      15.    脚跟      jiáogēn(เจี่ยวเกิน)                                            ส้นเท้า
                      16.    头发      tóu fa (โถวฝะ)                                                 ผม
                      17.    肩膀      jiānbăng(เจียนปั่ง)                                         ไหล่
                      18.    膝盖      xīgài (ซีไก้)                                                      หัวเข่า
                      19.          jiăozú (เจี่ยวจู๋)                                                  เท้า
                      20.    拇指      mŭzhǐ(หมูจื่อ)                                                  นิ้วโป้ง
                      21.    食指      shízhǐ (สือจื่อ)                                                  นิ้วชี้
                      22.    中指      zhōngzhǐ (จงจื่อ)                                           นิ้วกลาง
                      23.    小指      xiáo zhǐ (เสียวจื่อ)                                          นิ้วก้อย             



การเรียงประโยคใน ภาษาจีน

หลายต่อหลายครั้งที่ผู้เริ่มเรียนภาษาจีน มักจะสับสนกับวิธีการเรียงประโยค เพราะการเรียงประโยคในภาษาจีนนั้นมีทั้งเหมือน และต่างจากภาษาไทย แต่เพื่อไม่ให้เป็นการยากจนเกินไปจึงขอยกตัวอย่างเพียงไม่กี่ประโยค เช่น

ประโยคที่เรียงเหมือนภาษาไทย
你 要 吃 什 么    (nǐ yào chī shén me  )?    คุณจะกินอะไร




我  要 吃 饺 子  ( wǒ  yào  chī  jiǎo zi )。     ฉันจะกินเกี๊ยว

โครงสร้างการเรียงประโยค ภาษาจีน ที่ต่างกับไทย
你 在 哪 儿 学 习 汉 语? (nǐ zài nǎer xué xí hàn yǔ)   คุณเรียนภาษาจีนที่ไหน
我 在 北 京 学 习 汉 语。(wǒ zài běij īng xué xí hàn yǔ) ฉันเรียนภาษาจีนที่ปักกิ่ง
โครงสร้างภาษาจีน  = ใคร + ที่ไหน + ทำอะไร    ส่วนถ้าเป็นภาษาไทย  = ใคร + ทำอะไร + ที่ไหน
你  跟  谁 去 北 京?   (nǐ gēn shuí qù )               คุณไปปักกิ่งกับใคร
我  跟 朋  友  去         ( wǒ gēn péng yǒu qù)  。ฉันไปกับเพื่อน
โครงสร้างภาษาจีน  = ใคร + กับใคร + ทำอะไร ส่วนถ้าเป็นภาษาไทย  = ใคร + ทำอะไร + กับใคร
ข้อควรจำใน ภาษาจีน
             1. ภาษาจีน ส่วนใหญ่ประกอบด้วย พยัญชนะที่อยู่ด้านหน้าสุดเรียกว่า พยัญชนะต้น ส่วนที่เหลือตามหลังคือสระ

             2. ตำแหน่งในการใส่เสียงวรรณยุกต์ กรณีพยางค์มีสระเพียงตัวเดียว ให้ใส่ไว้บนสระนั้นได้เลย ในกรณีที่พยางค์มีสระสองตัวขึ้นไป หรือสระผสม ให้ใส่วรรณยุกต์กำกับไว้บนสระที่เน้นการออกเสียงมากกว่า ยกเว้นพยางค์ที่มีทั้งสระ i และ u ให้ใส่เสียงวรรณยุกต์บนสระตัวหลัง เช่น diu ให้ใส่เสียงวรรณยุกต์บน u , hui ให้ใส่เสียงวรรณยุกต์บน i และการใส่วรรณยุกต์บนสระ i จะต้องนำจุดเล็กๆบน i ออกด้วย
3. ในกรณีที่พยางค์มีเสียงวรรณยุกต์เสียงที่ 3 วางติดกันสองพยางค์ พยางค์แรกจะเปลี่ยนเป็นเสียงที่ 2 เช่น 你好(nǐhǎo) เวลาออกเสียงจะต้องเป็น níhǎo
4. การผันเสียงของ (bù) ปกติถ้าวางหน้าพยางค์ที่มีเสียงวรรณยุกต์ 1,2 หรือ 3 จะออกเป็นเสียงวรรณยุกต์ที่ 4 แต่ถ้าวางอยู่หน้าพยางค์ที่มีเสียงวรรณยุกต์ที่ 4 จะต้องเปลี่ยน ให้เป็นเสียงวรรณยุกต์ที่ 2
5. พยางค์เสียงเบา ใน ภาษาจีน จะไม่ใส่เสียงวรรณยุกต์
คำอวยพรภาษาจีน
   คำอวยพร ภาษาจีน นั้นมีอยู่มากมาย  เพราะคนจีนนิยมอวยพรกันในเทศกาล  หรือวันสำคัญต่างๆ  โดยใช้คำที่มีความหมายเป็นมงคล 

คำศัพท์
พินอิน
คำแปล
新正如意 
新年发财 
xīnzhèngrúyì
xīnniánfācái

ขอให้สมใจปรารถนา  และร่ำรวยในวันปีใหม่

春节愉快
chūnjiéyúkuài
สุขสันต์วันตรุษจีน
新春万福
xīnchūnwànfú
มหามงคลปีใหม่
万事如意
wànshìrúyì
สมหวังทุกประการ
心想事成 
xīnxiǎngshìchéng
สมดังใจปรารถนา
生日快乐
shēngrìkuàilè
สุขสันต์วันเกิด
长寿百岁
chángshòubǎisuì
อายุยืนร้อยปี
一路平安  
yílùpíng’ān
เดินทางโดยสวัสดิภาพ
吉祥开业 
jíxiángkāiyè
สิริมงคลวันเปิดกิจการ
幸福生活
xìngfúshēnghuó
มีชีวิตที่ผาสุก






การสอบ HSK



การสอบ HSK หรือ ในภาษาจีนคือ 汉语水平考试 เป็นการสอบวัดระดับความรู้ความสามารถทางด้าน ภาษาจีน โดยปกติที่นิยมสอบกันแบ่งเป็น
ระดับพื้นฐาน
การจัดสอบ
จัดสอบปีละ 2 ครั้ง
รายละเอียดการสอบ
ข้อสอบ 140 ข้อ 135 นาที
-การฟัง 50 ข้อ 35 นาที
-ไวยากรณ์ 40 ข้อ 40 นาที
-การอ่าน 50 ข้อ 60 นาที
การประเมินผล
100-154 คะแนน ระดับ 1 Grade C
155-209 คะแนน ระดับ 2 Grade B
210-300 คะแนน ระดับ 3 Grade A
ระดับต้น-กลาง
การจัดสอบ
จัดสอบปีละ 3 ครั้ง
รายละเอียดการสอบ
ข้อสอบ 170 ข้อ 145 นาที
-การฟัง 50 ข้อ 35 นาที
-ไวยากรณ์ 30 ข้อ 20 นาที
-การอ่าน 50 ข้อ 60 นาที
-ภาครวม 40 ข้อ 30 นาที แบ่งเป็น
ปรนัย 24 ข้อ อัตนัย 16 ข้อ
การประเมินผล
152-188 คะแนน ระดับ 3 Grade C
189-255 คะแนน ระดับ 4 Grade B
226-262 คะแนน ระดับ 5 Grade A
263-299 คะแนน ระดับ 6 Grade C
300-336 คะแนน ระดับ 7 Grade B
337-400 คะแนน ระดับ 8 Grade A
ระดับสูง
การจัดสอบ
จัดสอบปีละ 2 ครั้ง
รายละเอียดการสอบ
เวลาสอบทั้งหมด 155 นาที
-การฟัง 40 ข้อ 25 นาที
-ไวยากรณ์ 40 ข้อ 40 นาที
-ภาครวม 40 ข้อ 40 นาที แบ่งเป็น
ปรนัย 24 ข้อ อัตนัย 16 ข้อ
-การเขียน 30 นาที 400-600 ตัวอักษร
-การพูด 20 นาที แบ่งเป็น เตรียมตัว 10 นาที และพูดอัดเสียงใส่เทปอีก 10 นาที
การประเมินผล
280-339 คะแนน ระดับ 9 Grade C
280-339 คะแนน ระดับ 10 Grade B
280-339 คะแนน ระดับ 11 Grade A

 


 

  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น